วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2560

ลักษณะของพญานาค (Character of the Naga)


     พญานาค หรือ นาค (อังกฤษ: Nāga; สันสกฤต: नाग) เป็นความเชื่อในแทบภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเรียกชื่อต่าง ๆ กันตามแต่ละพื้นที่ แต่มีลักษณะร่วมกัน คือ พญานาคจะมีลำตัวขนาดใหญ่ ลำตัวมีเกล็ดเหมือนปลามีหลายสีแตกต่างกันไปตามบารมี บนศรีษะมีหงอน 
    ตามความเชื่อแล้ว พญานาคเป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของบันไดสู่จักรวาลอีกด้วย

     ต้นกำเนิดความเชื่อเรื่องพญานาค น่าจะมาจากอินเดีย ด้วยมีปกรณัมหลายเรื่องเล่าถึงพญานาค โดยเฉพาะในมหากาพย์มหาภารตะ นาคถือเป็นปรปักษ์ของครุฑ ส่วนในตำนานพุทธประวัติ ก็เล่าถึงพญานาคไว้หลายครั้งด้วยกัน

     ในแทบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังมีตำนานเรื่องเล่าเกี่ยวกับพญานาคกันอย่างแพร่หลาย ชาวบ้านในภูมิภาคนี้มักเชื่อกันว่าพญานาคอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขง หรือเมืองบาดาล และเชื่อกันว่าเคยมีคนเคยพบรอยพญานาคขึ้นมาในวันออกพรรษา โดยจะมีลักษณะคล้ายรอยของงูขนาดใหญ่

     ลักษณะของพญานาค ตามความเชื่อในแต่ละภูมิภาคจะแตกต่างกันไป แต่พื้นฐานความเข้าใจของคนในพื้นที่ที่พบเจอ คือ พญานาคนั้นมีลักษณะตัวเป็นงูขนาดใหญ่ บนศรีษะมีหงอนสีทองและตาสีแดง เกล็ดเหมือนปลามีหลายสีแตกต่างกันไปตามบารมี บ้างก็มีสีเขียว บ้างก็มีสีดำ หรือบ้างก็มี 7 สี เหมือนสีของรุ้ง และที่สำคัญคือ นาคตระกูลธรรมดาจะมีเศียรเดียว แต่ตระกูลที่สูงขึ้นไปนั้นจะมีสามเศียร ห้าเศียร เจ็ดเศียร และเก้าเศียร ฯลฯ 
    
      นาคจำพวกนี้จะสืบเชื้อสายมาจาก พญาเศษนาคราช (พญาอนันตนาคราช) ผู้เป็นบัลลังก์ของพระวิษณุ (พระนารายณ์ปรมนาท) ณ เกษียรสมุทร พญาอนันตนาคราชนั้นเล่ากันว่ามีกายใหญ่โตมหึมามีความยาวไม่สิ้นสุด สามารถแผ่เศียรได้มากถึงหนึ่งพันเศียร (1,000 เศียร) พญานาคนั้นมีทั้งเกิดในน้ำและบนบก เกิดจากครรภ์และจากไข่ มีอิทธิฤทธิ์สามารถบันดาลให้เกิดคุณและโทษได้ นาคนั้นมักจะแปลงร่างเป็นมนุษย์รูปร่างสวยงาม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประติมากรรมพญานาคในประเทศไทย (Sculpture Naga in Thailand)

ประติมากรรมพญานาคในประเทศไทย      ประติมากรรมของประเทศไทยเกี่ยวกับพญานาค มักจะเห็นเป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับพญานาคได้เสมอ ในงานจิตรกรรม ...