วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560

ประติมากรรมพญานาคในประเทศไทย (Sculpture Naga in Thailand)

ประติมากรรมพญานาคในประเทศไทย
     ประติมากรรมของประเทศไทยเกี่ยวกับพญานาค มักจะเห็นเป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับพญานาคได้เสมอ ในงานจิตรกรรม ประติมากรรม และหัตถกรรม พญานาคเป็นส่วนประกอบที่สำคัญทางสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะตามอาคารวัดต่างๆ หลังคาอาคารที่สร้างขึ้นสำหรับสถาบันพระมหากษัตริย์ และสถาบันศาสนสถาน ตามคตินิยมที่ว่า พญานาคยิ่งใหญ่คู่ควรกับสถาบันอันสูงส่ง เช่น ประติมากรรมนาคสะดุ้ง ที่ทอดลำตัวยาวตามบันได, นาคลำยอง ซึ่งเป็นป้านลมหลังคาโบสถ์ ที่ต่อเชื่อมกับนาคสะดุ้ง, นาคเบือน, นาคจำลอง, นาคทันต์, มกรคายนาค และคันทวยรูปพญานาค






     อีกทั้งยังเป็นโขนเรือ (หัวเรือ) ในขบวนเรือกระบวนพยุหยาตราชลมารค ในพระราชพิธีอีกด้วย อันได้แก่ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์







วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2560

เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับของพญานาค (Costumes and Jewelry of the Naga)


เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับของพญานาค
      พญานาคเป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่  ความอุดมสมบูรณ์  ความมีวาสนา  อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของบันไดสู่จักรวาล  และพญานาคยังมีบทบาททางพุทธศาสนาอีกด้วย

เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับของพญานาค
·       บนศีรษะจะสวมชฎาและมีทัดข้างหู ด้านหลังแผ่พังพานเศียรนาค ตามแต่จะปรากฏ 
    ตามบารมีของแต่ละองค์
·       ไหล่หนาเหมือนเกราะนักรบ ที่แสดงถึงความแข็งแกร่ง โดยมีลวดลายไทยฉลุเป็นรูป
    พญานาคประดับที่ไหล่
·       สายสร้อยสังวาลย์ เป็นลายไทยปนดอกไม้ สีทอง มีพลอยแดงประดับ
·       ทับทรวง  เป็นทองที่ตีและสลักเป็นรูปพญานาคและดอกบัว  เพื่อสื่อถึงบทบาทของ
    พญานาคที่มีต่อพระพุทธศาสนา
·       ผ้านุ่งโจงกระเบน เป็นผ้าลายไทย ลวดลายสวยงาม
·       เกราะประดับที่บริเวณสะโพก เป็นเหมือนเกราะนักรบ ที่แสดงถึงความแข็งแกร่ง
·       ผ้าจีบพกด้านหน้า เป็นผ้าไหมไทยสีทองพลิ้ว ประดับพลอยอย่างสวยงาม
·       ผ้าห้อยชายด้านหน้า เป็นผ้าไหมไทยสีทองพลิ้ว ขอบลายประดับสีแดง
·       เครื่องประดับด้านหน้าห้อยบริเวณเอว  เป็นทองตีและสลักเป็นรูปพญานาคและดอกบัว
·       กำไลข้อมือ ขดทองสลักเป็นรูปพญานาค
·       กำไลข้อเท้า ขดทองเป็นพญานาครัดข้อเท้า



วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2560

ตระกูลของพญานาค (Caste of the Naga)


ตระกูลของพญานาค
     พญานาคเป็นเจ้าแห่งงู แต่ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ แต่ก็จัดอยู่ฝ่ายสุคติภูมิ อยู่สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา

เผ่าพันธุ์และการเกิดของพญานาคแบ่ง ออกเป็น 4 ตระกูลใหญ่ คือ
  1.  ตระกูลวิรูปักษ์       พญานาคตระกูลสีทอง
  2. ตระกูลเอราปถ       พญานาคตระกูลสีเขียว
  3. ตระกูลฉัพพยาปุตตะ  พญานาคตระกูลสีรุ้ง
  4. ตระกูลกัณหาโคตมะ   พญานาคตระกูลสีดำ

ตระกูลวิรูปักษ์พญานาคตระกูลสีทอง

ตระกูลเอราปถพญานาคตระกูลสีเขียว

ตระกูลฉัพพยาปุตตะพญานาคตระกูลสีรุ้ง

ตระกูลกัณหาโคตมะพญานาคตระกูลสีดำ

    โดยพญานาคทั้ง 4 ตระกูลนี้จะเป็นพญานาคผู้ยิ่งใหญ่ ถือว่าเป็นเจ้าแห่งพญานาคและเป็นเจ้าแห่งงู และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย อันมีนามว่า
      1. พญานาคราช วิรุปักโข
      2. พญานาคราช งูเอราปภะ (เอราปถ)
      3. พญานาคราช ฉัพพยาปุตตะ
      4. พญานาคราช กัณหาโคตมะ

    ซึ่งโดยนามแห่งพญานาคทั้ง 4 นี้  ก็มีเรื่องปรากฎชัดเจนในบทพระพุทธมนต์ขันธปริตร  ที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้เหล่าพระภิกษุทั้งหลายและบุคคลทั้งหลายได้สวดสาธยายมนต์นี้  เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกงูหรือพญานาคกัดทำร้าย

การถือกำเนิดของพญานาค เกิดได้ทั้ง 4 แบบ คือ
แบบโอปปาติกะ    เกิดแล้วโตทันที   (ท้าววิรูปักโขนาคราช)
แบบสังเสทชะ      เกิดจากเหงื่อไคล สิ่งหมักหมม  (ท้าวเอราปถะนาคราช)
แบบชลาพุชะ      เกิดจากครรภ์  (ท้างฉัพพยาปุตตะนาคราช)
แบบอัณฑชะ       เกิดจากฟองไข่  (ท้าวกัณหาโคตมะนาคราช)


        พญานาคชั้นสูงเกิดแบบโอปปาติกะ เป็นชนชั้นปกครอง ที่อยู่ของพญานาคมีตั้งแต่ในแม่น้ำ หนอง คลอง บึงต่างๆ ในอากาศ จนไปถึงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา พวกพญานาคอยู่ในการปกครองของท้าววิรูปักษ์ ซึ่งเป็นอธิบดีจอมแห่งนาคราช  เป็นหนึ่งในท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 อีกด้วย  ท้าววิรูปักษ์จะปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา และดูแลโลกด้านทิศตะวันตก 


ลักษณะของพญานาค (Character of the Naga)


     พญานาค หรือ นาค (อังกฤษ: Nāga; สันสกฤต: नाग) เป็นความเชื่อในแทบภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเรียกชื่อต่าง ๆ กันตามแต่ละพื้นที่ แต่มีลักษณะร่วมกัน คือ พญานาคจะมีลำตัวขนาดใหญ่ ลำตัวมีเกล็ดเหมือนปลามีหลายสีแตกต่างกันไปตามบารมี บนศรีษะมีหงอน 
    ตามความเชื่อแล้ว พญานาคเป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของบันไดสู่จักรวาลอีกด้วย

     ต้นกำเนิดความเชื่อเรื่องพญานาค น่าจะมาจากอินเดีย ด้วยมีปกรณัมหลายเรื่องเล่าถึงพญานาค โดยเฉพาะในมหากาพย์มหาภารตะ นาคถือเป็นปรปักษ์ของครุฑ ส่วนในตำนานพุทธประวัติ ก็เล่าถึงพญานาคไว้หลายครั้งด้วยกัน

     ในแทบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังมีตำนานเรื่องเล่าเกี่ยวกับพญานาคกันอย่างแพร่หลาย ชาวบ้านในภูมิภาคนี้มักเชื่อกันว่าพญานาคอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขง หรือเมืองบาดาล และเชื่อกันว่าเคยมีคนเคยพบรอยพญานาคขึ้นมาในวันออกพรรษา โดยจะมีลักษณะคล้ายรอยของงูขนาดใหญ่

     ลักษณะของพญานาค ตามความเชื่อในแต่ละภูมิภาคจะแตกต่างกันไป แต่พื้นฐานความเข้าใจของคนในพื้นที่ที่พบเจอ คือ พญานาคนั้นมีลักษณะตัวเป็นงูขนาดใหญ่ บนศรีษะมีหงอนสีทองและตาสีแดง เกล็ดเหมือนปลามีหลายสีแตกต่างกันไปตามบารมี บ้างก็มีสีเขียว บ้างก็มีสีดำ หรือบ้างก็มี 7 สี เหมือนสีของรุ้ง และที่สำคัญคือ นาคตระกูลธรรมดาจะมีเศียรเดียว แต่ตระกูลที่สูงขึ้นไปนั้นจะมีสามเศียร ห้าเศียร เจ็ดเศียร และเก้าเศียร ฯลฯ 
    
      นาคจำพวกนี้จะสืบเชื้อสายมาจาก พญาเศษนาคราช (พญาอนันตนาคราช) ผู้เป็นบัลลังก์ของพระวิษณุ (พระนารายณ์ปรมนาท) ณ เกษียรสมุทร พญาอนันตนาคราชนั้นเล่ากันว่ามีกายใหญ่โตมหึมามีความยาวไม่สิ้นสุด สามารถแผ่เศียรได้มากถึงหนึ่งพันเศียร (1,000 เศียร) พญานาคนั้นมีทั้งเกิดในน้ำและบนบก เกิดจากครรภ์และจากไข่ มีอิทธิฤทธิ์สามารถบันดาลให้เกิดคุณและโทษได้ นาคนั้นมักจะแปลงร่างเป็นมนุษย์รูปร่างสวยงาม



ประติมากรรมพญานาคในประเทศไทย (Sculpture Naga in Thailand)

ประติมากรรมพญานาคในประเทศไทย      ประติมากรรมของประเทศไทยเกี่ยวกับพญานาค มักจะเห็นเป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับพญานาคได้เสมอ ในงานจิตรกรรม ...