ประติมากรรมของประเทศไทยเกี่ยวกับพญานาค
มักจะเห็นเป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับพญานาคได้เสมอ ในงานจิตรกรรม ประติมากรรม
และหัตถกรรม พญานาคเป็นส่วนประกอบที่สำคัญทางสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะตามอาคารวัดต่างๆ
หลังคาอาคารที่สร้างขึ้นสำหรับสถาบันพระมหากษัตริย์ และสถาบันศาสนสถาน
ตามคตินิยมที่ว่า พญานาคยิ่งใหญ่คู่ควรกับสถาบันอันสูงส่ง เช่น
ประติมากรรมนาคสะดุ้ง ที่ทอดลำตัวยาวตามบันได, นาคลำยอง
ซึ่งเป็นป้านลมหลังคาโบสถ์ ที่ต่อเชื่อมกับนาคสะดุ้ง, นาคเบือน,
นาคจำลอง, นาคทันต์, มกรคายนาค
และคันทวยรูปพญานาค
อีกทั้งยังเป็นโขนเรือ
(หัวเรือ) ในขบวนเรือกระบวนพยุหยาตราชลมารค ในพระราชพิธีอีกด้วย อันได้แก่
เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์